ประวัติเมืองน่าน

ประวัติเมืองน่าน

ที่ตั้งจังหวัดน่าน

               จังหวัดน่าน ติดอยู่กับชายแดนทางทิศตะวันออกของภาคเหนือตอนบน ติดกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ( สปป.ลาว ) ห่างจากกรุงเทพมหานครโดยทางรถยนต์ ประมาณ668 กิโลเมตร

อาณาเขตโดยรอบของจังหวัดน่าน

               ทิศเหนือ ประกอบด้วย อำเภอเชียงกลาง อำเภอปัว มีอำเภอทุ่งช้าง อำเภอเฉลิมพระเกียรติอำเภอบ่อเกลือ ที่มีพื้นที่ติดต่อกับเขตเศรษฐกิจพิเศษ เชียงฮ่อน – หงสา (สปป.ลาว )

  ทิศตะวันออก ประกอบด้วย กิ่งอำเภอภูเพียง อำเภอสันติสุข โดยมีอำเภอแม่จริม  อำเภอเวียงสา     มีพื้นที่ติดต่อกับแขวงไชยบุรี ( สปป.ลาว )

                ทิศใต้ ประกอบด้วย อำเภอนาน้อย อำเภอนาหมื่น มีพื้นที่ติดต่อกับจังหวัดอุตรดิตต์ อำเภอนาน้อย มีพื้นที่ติดต่อกับจังหวัดแพร่ อำเภอเวียงสา มีพื้นที่ติดต่อกับจังหวัดแพร่

               ทิศตะวันตก ประกับด้วย อำเภอบ้านหลวง มีพื้นที่ติดต่อกับอำเภอเชียงม่วนจังหวัดพะเยา อำเภอท่าวังผา มีพื้นที่ติดกับอำเภอปง จังหวัดพะเยา อำเภอสองแคว มีพื้นที่ติดต่อกับอำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา

ทิศเหนือ และทิศตะวันออก มีอาณาเขตติดต่อกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว( สปป.ลาว ) เป็นระยะทางยาวประมาณ 227 กม.

แหล่งท่องเที่ยว

อุทยานแห่งชาติดอยภูคา

อยู่ห่างจากจังหวัดน่านประมาณ85 กิโลเมตรตามทางหลวงหมายเลข 1080 สายน่าน – ปัว ระยะทาง60 กิโลเมตร

จากนั้นใช้เส้นทางสายปัว – บ่อเกลืออีกประมาณ25 กิโลเมตรถึงที่ทำการอุทยานซึ่งตั้งอยู่บนเนินเขา (กิโลเมตรที่ 24 – 25) อุทยานแห่งชาติดอยภูคาเป็นแหล่งกำเนิดของห้วยน้ำลำธารอันหลากหลายที่นำไปสู่ต้นกำเนิดแม่น้ำน่าน อุทยานแห่งชาติดอยภูคาอยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเล1,980 เมตรมีลักษณะพื้นที่เป็นภูเขาสูงชัน มีสภาพป่าดิบเขา ป่าดิบชื้น ป่าดิบแล้ง ป่าสน ป่าเต็งรัง อันอุดมสมบูรณ์ มีถ้ำ น้ำตก และทิวทัศน์อันวิจิตร นอกจากนี้ยังมีพรรณไม้หายากคือต้นชมพูภูคา ที่เชื่อว่าเหลือเพียงแหล่งสุดท้ายของโลก                                                                                                                                    

 

   ผาชู้

อยู่ที่บ้านหนองบัว หมู่ที่ 9 ตำบลศรีษะเกษ อยู่ห่างจากตัวอำเภอไปตามถนนสายนาน้อย-ปางไฮ

ประมาณ20 กม.มีลักษณะ เป็นหน้าผาสูงชัน ทิวทัศน์สวยงาม มองเห็นแม่น้ำน่าน ยาวคดเคี้ยวหลายสิบกิโลเมตร อยู่ในเขตอุทยาน ศรีน่าน ที่บริเวณผาชู้มีบ้านพักรับรองสำหรับ นักท่องเที่ยวที่จะค้างคืน เป็นจุดชมดวงอาทิตย์ขึ้นและทะเลหมอกทีสวยงาม การเดินทางต้องนำรถและเตรียมอาหารไปเอง ติดต่อศูนย์พัฒนาต้นน้ำห้วยสามสบ ตำบลศรีษะเกษ อำเภอนาน้อย และหน่วย พัฒนาปรับปรุงต้นน้ำ(เขาน้อย) อำเภอเมืองน่าน โทร 054-771475  

 เสาดิน(ฮ้อมจ้อม)

อยู่ที่ตำบลเชียงของ อำเภอนาน้อย มาทางใต้ประมาณ61 กม.ตามเส้นทางน่านเวียงสา- นาน้อย จากอำเภอนาน้อยมีทางแยกไปตามเส้นทางหมายเลข 1083 ประมาณ10 กม.ฮ้อมจ้อมมีลักษณะเป็นเนินดิน ซึ่งถูกกัดเซาะ จนสึกกร่อนเป็นรูปร่างต่าง ๆ แปลกตา ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงทางธรณีวิทยา ที่ธรรมชาติสร้างขึ้นอย่างหนึ่งคอกเสือมีลักษณะคล้ายเสาดิน สูงถึง 20-30 ม.อยู่ห่างจากเสาดินประมาณ1 กม.

ล่องน้ำว้า (ล่องแก่ง) น้ำว้า

เป็นแม่น้ำสาขาที่ใหญ่ที่สุดของลำน้ำน่าน ไหลผ่านป่าที่อุดมสมบูรณ์ จากอำเภอบ่อเกลือ อำเภอสันติสุข อำเภอแม่จริม และบรรจบแม่น้ำน่านที่อำเภอเวียงสา มีเกาะ แก่ง มากมาย เหมาะแก่การล่องแก่งซึ่งสามารถล่อได้ทั้งแพไม้ไผ่และเรือยางในการผจญภัยและศึกษาทัศนียภาพ สองฝั่งลำน้ำว้าที่งดงาม โดยเฉพาะฤดูหนาว จะสวยกว่าฤดูอื่น ๆ มาก มีหาดทรายสำหรับแวะพักเล่นน้ำหลายแห่ง

  

 บ่อเกลือบนภูเขาแห่งเดียวในโลก

มีลักษณะเป็นบ่อเกลือสินเธาว์ที่อยู่บนพื้นที่สูงปัจจุบันมีจำนวน 3 บ่อ คือ บ่อบ้านหลวง หมู่ที่ 1 ตำบลบ่อเกลือใต้ 2 บ่อ ห่างจากอำเภอ1.5 กม.และบ้าน บ่อหยวก หมู่ที่ 3 ตำบลบ่อเกลือเหนือ 1 บ่อ ห่างจากอำเภอ22 กม.ชาวบ้านจะนำน้ำในบ่อ ซึ่งมีรสเค็มมาต้มเพื่อผลิตเป็นเกลือสินเธาว์เพื่อบริโภคและจำหน่ายเป็นรายได้อีกทางหนึ่งอุทยานแห่งชาติดอยภูคามีบ้านพักไว้บริการแก่นักท่องเที่ยว 3 หลัง รวมประมาณ 80 คน และมีสถานที่ สำหรับตั้งแคมป์ ติดต่อขอที่พักได้ที่ป่าไม้จังหวัดน่าน โทร 054-7101360หรือ ที่ทำการอุทยานแห่งชาติดอยภูคา 

 

อุทยานแห่งชาติศรีน่าน

             มีเนื้อที่ 934 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ 7 ตำบล 3 อำเภอ คือ ตำบลส้าน ตำบลน้ำมวบ อำเภอเวียงสา ตำบลศรีษะเกษ ตำบลเชียงของ ตำบลสถาน อำเภอนาน้อย ตำบลบ่อแก้ว ตำบลนาทะนุง อำเภอนาหมื่น พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นเทือกเขาสูงสลับซับซ้อน บริเวณพื้นที่ตอนกลางเป็นภูเขาน้อยใหญ่สลับกันไป ตอนกลางของพื้นที่มีแม่น้ำน่านไหลผ่านในแนวเหนือ-ใต้ มีสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจได้แก่

วัดหนองบัว

              อยู่ที่บ้านหนองบัว ตำบลป่าคา อำเภอท่าวังผา เป็นวัดเก่าแก่สร้างด้วยฝีมือของช่างชาวไทลื้อ เป็นวัดที่สร้างขึ้นในรูปแบบของสถาปัตยกรรมแบบไทยลื้อในยุดเริ่มแรก สร้างประมาณปี พ.ศ. 2315 ปัจจุบัน วิหารวัดหนองบัว แห่งนี้ได้มีการบูรณะ ปฎิสังขรณ์ และปรับเปลี่ยนรูปแบบดั้งเดิม ของสถาปัตยกรรมแบบไทยลื้อ มาผสมผสานกับสถาปัตยกรรมแบบล้านนา คล้ายกับวัดบุญยืน ที่อำเภอเวียงสานอกจากความโดดเด่นของ รูปทรงของตัวอาคารวิหารแล้ว ภายในวิหารมีจิตรกรรมผาฝนัง อันทรงคุณค่าทางศิลปะ และความสมบูรณ์ของภาพใกล้เคียงกับจิตกรรมฝาหนังวัดภูมินทร์ ตามประวัติกล่าวว่าภาพเหล่านี้เขียนขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5

                                

วัดพระธาตุแช่แห้ง

วัดพระธาตุแช่แห้ง อยู่ที่ตำบลม่วงตึ๊ด กิ่งอำเภอภูเพียง ห่างจากตัวเมืองข้ามสะพานพัฒนาภาคเหนือไปตามทางหลวงหมายเลข 1168 ประมาณ3 กิโลเมตรพระธาตุแช่แห้งเป็น ปูชนียสถานที่สำคัญ มีอายุกว่า 600 ปี พญาการเมืองโปรดให้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 1891 เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่ได้มาจาก กรุงสุโขทัย องค์พระธาตุมีความสูง55.5 เมตรตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัส กว้างด้านละ22.5 เมตรบุด้วยทองเหลืองหมดทั้งองค์

วัดช้างค้ำวรวิหาร

วัดช้างค้ำวรวิหาร อยู่ตรงข้ามสำนักงานเทศบาลเมืองน่าน เดิมชื่อ วัดหลวงกลางเวียง พญาพบเทพลือชัย เป็นผู้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2090 เจดีย์ช้างค้ำ ซึ่งเป็นรูปช้างปูนปั้นเพียงครึ่งตัวประดับอยู่โดยรอบ เป็นศิลปะสมัยสุโขทัย นอกจากนี้ยังมีพระพุทธรูปปางลีลา คือ พระพุทธรูปนันทบุรีศรีศากยมุนี มีส่วนผสมของทองถึง 65% สูง 145 เซนติเมตรก็เป็นศิลปะแบบสุโขทัยเช่นกัน สร้างขึ้นใน พ.ศ. 1969 โดยเจ้างั่วฬารผาสุกเจ้าผู้ครองนครน่านองค์ที่ 14

วัดภูมินทร์

วัดภูมินทร์ อยู่ใกล้กับพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติจังหวัดน่าน เดิมชื่อวัดพรหมมินทร์ สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2135 โดยเจ้าเจตบุตร ภูมินทร์ ความสวยงามโดดเด่นที่เป็นเอกลักษณ์ไม่เหมือนวัดอื่นๆ คือ พระอุโบสถเป็นอาคารจตุรมุข มีนาคสะดุ้งตัวใหญ่ 2 ตัว เทินพระอุโบสถไว้ ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย 4 องค์ หันหน้าออกสู่ประตูทั้งสี่ทิศ วัดภูมินทร์ได้รับการบูรณะครั้งใหญ่เมื่อปี พ.ศ. 2410 โดยพระเจ้าอนันตวรฤทธิเดชใช้เวลานาน ถึง 9 ปี กรมศิลปากรสันนิษฐานว่าภาพจิตรกรรมฝาผนังคงวาดขึ้นในสมัยที่มีการซ่อมแซมครั้งนี้ด้วย โดยแบ่งงานจิตรกรรมฝาผนังออกเป็น 3 ส่วน คือ แสดงเรื่องชาดก ชีวิตความเป็นอยู่ และตำนานพื้นบ้านของเมืองน่าน นับเป็นจิตรกรรมฝาผนังที่มีความสมบูรณ์ ซึ่งจะหาดูที่ไหนในดินแดนล้านนาไม่ได้อีกแล้ว นอกจากนี้ สิ่งที่น่าสนใจอีกอย่างคือบานประตูแกะสลักทั้งสี่ทิศเป็นไม้สักทองหนาประมาณ 4 นิ้วแกะเป็นลวดลายเครือเถา ดอก ใบ ดูอ่อนช้อยเกาะเกี่ยวสวยงามมาก

วัดพระธาตุเขาน้อย

สันนิษฐานว่ามีอายุใกล้เคียงกับพระธาตุแช่แห้ง จากบนยอดเขาจะมองเห็นทิวทัศน์ตัวเมืองน่าน และวัดพระธาตุแช่แห้งได้อย่างชัดเจน มีพระพุทธรูปประจำเมืองประดิษฐาน คือ พระพุทธมหาอุดมมงคลนันทบุรีศรีเมืองน่าน

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน

              ตั้งอยูในบริเวณคุ้มของอดีตเจ้าผู้ครองนครน่าน ที่เรียกว่า “หอคำ” โดย พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช เจ้าเมืองน่านสร้างขึ้น เป็นที่ประทับเมื่อปี พ.ศ.2446 ลักษณะตัวอาคารโอ่โถง งดงาม ก่ออิฐถือปูนแข็งแรง แต่ตกแต่งให้อ่อนช้อยสวยงามด้วยลายลูกไม้นับเป็น สถาปัตยกรรมก่อสร้าง ที่ดีเด่นแห่งหนึ่งของเมืองไทย นอกจากนั้น บริเวณด้านหน้าพิพิธภัณฑ์ เป็นที่ตั้งอนุสาวรีย์ พระเจ้าสุริยพงศ์ผลิตเดช ผู้เป็นเจ้าของหอคำแห่งนี้ด้วย กรมศิลปากรได้รับมอบอาคารหอคำ เพื่อใช้เป็นอาคาร พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน เมื่อปี พ.ศ.2517 จัดแสดง โบราณวัตถุ ตลอดจนสิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ ศิลปะ โบราณคดีและชาติพันธุ์วิทยา ประจำท้องถิ่น มาจัดแสดงให้ชมอย่างมีระบบ และระเบียบ

 

รามเกียรติ์ (ม.2)



เย็นศิระเพราะพระบารมี ( ม.2)



เพลงกล่อมเด็ก





มาฝึกท่องอาขยานกันเถอะ












นิทานอีสป










[Youtube=http://youtu.be/QnrXuwqfAYI]







เพลงประกอบการสอนภาษาไทย










จุดประกายการเขียนความเรียงขั้นสูง


ภาษาแสลง

ภาพของดีเมืองน่าน

                  

ของดีเมืองน่านเป็นเอกลักษณ์ของเมืองนันทบุรีศรีนครน่าน     

ผ้าทอไทยลื้อ

                                         

ปู่ม่านย่าม่านจิตกรรมวัดภูมินทร์

งาช้างดำของคู่บ้านคู่เมืองน่าน

บึ๊ดจ้ำบึ๊ด ประเพณีการแข่งเรือ อ.ท่าวังผา จ.น่านประจำปี 2554

แข่งเรือเมืองน่าน

เตาเผาบ่อสวก